arrow-small-left Created with Sketch. arrow-small-right Created with Sketch. Carat Left arrow Created with Sketch. check Created with Sketch. circle carat down circle-down Created with Sketch. circle-up Created with Sketch. clock Created with Sketch. difficulty Created with Sketch. download Created with Sketch. email email Created with Sketch. facebook logo-facebook Created with Sketch. logo-instagram Created with Sketch. logo-linkedin Created with Sketch. linkround Created with Sketch. minus plus preptime Created with Sketch. print Created with Sketch. Created with Sketch. logo-soundcloud Created with Sketch. twitter logo-twitter Created with Sketch. logo-youtube Created with Sketch.

Cervical screening test (Thai) - การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้มากที่สุดประเภทหนึ่ง การตรวจคัดกรองปากมดลูกสม่ำเสมอคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัวคุณเองจากมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองปากมดลูกคืออะไร?

การตรวจคัดกรองปากมดลูกเป็นการตรวจสุขภาพของปากมดลูกของคุณ แพทย์หรือพยาบาลจะนำตัวอย่างจากปากมดลูกของคุณโดยใช้ไม้พันสำลี เหมือนการตรวจมะเร็งปากมดลูกจากสารคัดหลั่ง (แปปสเมียร์) หรือการตรวจไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (HPV)

HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไปที่สามารถเปลี่ยนแปลงเซลล์ในปากมดลูกของคุณได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกที่พบมากที่สุด

คนส่วนมากที่มี HPV จะไม่มีอาการปรากฎ นี่คือเหตุผลว่าทำไมการคัดกรองจึงมีความสำคัญยิ่ง

หากผลการตรวจของคุณแสดงว่าคุณมีเชื้อ HPV ตามปกติเชื้อจะใช้เวลา 10 ปีหรือมากกว่านั้นที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก การที่การติดเชื้อ HPV จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นพบได้ยาก

แผนภาพแสดงระบบสืบพันธ์ุเพศหญิง

ภาพระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบไปด้วย ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก รังไข่ และท่อนำไข่

คุณจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองปากมดลูกหรือไม่?

คุณจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองปากมดลูก หากคุณ

  • เป็นผู้หญิงหรือคนที่มีปากมดลูก
  • อายุ 25 ถึง 74 ปี
  • เคยมีการสัมผัสทางเพศกับผู้อื่น ไม่คำนึงว่าจะเป็นเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศใด

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีการตรวจคัดกรอง แม้ว่าคุณจะเคยฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV มาแล้วก็ตาม ขณะที่วัคซีน HPV มีประสิทธิผลสูง แต่วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ HPV ทั้งหมด

คุณจำเป็นต้องตรวจคัดกรองปากมดลูกบ่อยแค่ไหน?

คุณจำเป็นต้องตรวจทุก ๆ ห้าปีระหว่างอายุ 25 และ 74 ปี

การคัดกรองทุกห้าปีนั้นปลอดภัยมาก ทั้งนี้เพราะว่าวิธีตรวจแบบเก่าทุกสองปี (แปปสเมียร์) นั้นตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ปากมดลูกเท่านั้น การคัดกรองปากมดลูกแบบใหม่นี้ตรวจหาเชื้อ HPV ซึ่งสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งช่วยตรวจพบความเปลี่ยนแปลงแต่เนิ่น ๆ

คุณสามารถรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของคุณได้ที่ไหน?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำได้ที่คลินิกแพทย์ ศูนย์สุขภาพและคลินิกวาแผนครอบครัว

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทำอย่างไร?

หากผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเก็บตัวอย่าง

หากผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณทำการตรวจ คุณจะต้องถอดเสื้อผ้าที่อยู่ต่ำกว่าเอวของคุณออกและนอนหงายแยกเข่าออกจากกัน คุณจะได้รับผ้าเพื่อปกปิดร่างกาย

ผู้ให้บริการดูลสุขภาพจะสอดเครื่องถ่างตรวจ (เครื่องมือรูปปากเป็ด) เข้าไปในช่องคลอดของคุณเบา ๆ และใช้แปรงอันเล็ก ๆ เขี่ยตัวอย่างของเซลล์จากปากมดลูกของคุณ คุณอาจรู้สึกแปลก ๆ แต่ไม่น่าเจ็บ หากคุณต้องการ คุณสามารถขอผู้ให้บริการดูแลสุขภาพที่เป็นเพศหญิงได้

หากคุณจะเก็บตัวอย่างเอง (เก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง)

หากคุณเลือกที่จะเก็บตัวอย่างของคุณเอง คุณจำเป็นจะต้องทำที่ศูนย์สุขภาพของคุณ ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณจะอธิบายวิธีทำการตรวจนี้ คุณสามารถทำได้ในที่ลับหรือขอให้พวกเขาช่วยก็ได้

การเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองทำโดยการสอดไม้พันสำลีเข้าไปในช่องคลอดของคุณ คุณกวาดไม้พันสำลีเป็นวงกลมเบา ๆ เป็นเวลา 10 ถึง 30 วินาที ซึ่งอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวแต่ไม่น่าเจ็บ แล้วเอาไม้พันสำลีอันนั้นออกจากช่องคลอดและใส่คืนลงไปในภาชนะบรรจุที่ได้รับมา

การเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองปลอดภัยและแม่นยำเหมือนกับการให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเก็บตัวอย่างของคุณ

หลังการตรวจของคุณแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

หลังจากเก็บตัวอย่างของคุณแล้ว ตัวอย่างจะถูกส่งไปยังห้องทดลองเพื่อทดสอบ

หากการทดสอบของคุณไม่พบเชื้อ HPV คุณสามารถรอไปอีกห้าปีเพื่อตรวจครั้งต่อไปได้

หากการทดสอบของคุณพบเชื้อ HPV ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณจะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำต่อไป ผลการตรวจของคุณจะถูกส่งไปที่ทะเบียนการคัดกรองมะเร็งแห่งชาติ (NCSR) บริการนี้จะส่งคำเตือนมาถึงคุณด้วยว่าคุณจะมีการตรวจครั้งต่อไปเมื่อไร

คุณควรจะไปพบแพทย์เมื่อไหร่

ไปพบแพทย์หรือผุ้ให้บริการสุขภาพ หากคุณไม่แน่ใจว่า คุณถึงเวลาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกครั้งต่อไปเมื่อไร

หากคุณมีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บปวดหรือมีสารคัดหลั่งออกมาแบบไม่ปกติ ให้ไปพบแพทย์ทันที หมายเหตุ ไม่แนะนำให้เก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง หากคุณมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวเหล่านี้

ถามแพทย์ของคุณเกี่ยวกับวัคซีนเอชพีวี หากคุณยังไม่ได้ฉีด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลและแหล่งอ้างอิง ไปที่ jeanhailes.org.au/health-a-z/health-checks/cervical-screening-test